รอยช้ำ อาการช้ำ และวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ช้ำหรือรอยช้ำเป็นอาการบาดเจ็บที่ปรากฏบนผิวหนังและเป็นอาการที่สามารถพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งเกิดจากเลือดออกภายในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในชั้นผิวหนังหรืออยู่ลึกลงไปใต้เนื้อเยื่อผิวชั้นบน ในช่วงแรก อาการช้ำจะมีลักษณะเป็นสีม่วงคล้ำ ก่อนที่สีจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ในระหว่างการรักษา และผิวจะกลับไปเป็นปกติเมื่อร่างกายดูดซึมเลือดในชั้นผิวหนังกลับเข้าไปตามเดิม ทั้งนี้การเกิดรอยช้ำอาจแตกต่างกันไปตามอายุ อย่างการที่เด็กเกิดรอยช้ำได้ยากกว่าผู้สูงอายุเพราะเมื่ออายุมากขึ้นหลอดเลือดก็จะมีความบอบบางมากขึ้นตามไปด้วย หรืออาจมีสาเหตุมาจากการใช้ยาบางชนิดที่ขัดขวางการแข็งตัวของเลือดจนทำให้เลือดออกในผิวหนังหรือเนื้อเยื่อมากขึ้นได้ ดังนั้น การรู้ถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุ การปฐมพยาบาลและการรักษาเมื่อเกิดรอยช้ำจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม สาเหตุต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดรอยช้ำ อาการช้ำ โดยทั่วไป อาการช้ำมักเกิดจากการได้รับการกระทบกระเทือนในบริเวณผิวหนัง มักพบได้มากในผู้ที่ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเป็นประจำ อย่างนักกีฬา หรือเกิดขึ้นจากการฉีกขาดขนาดเล็กของหลอดเลือดใต้ผิวหนัง อีกทั้งรอยช้ำยังอาจเกิดจากการได้รับอุบัติเหตุ ข้อเท้าแพลง มีภาวะกล้ามเนื้อฉีก และการใช้ยาหรืออาหารเสริมชนิดต่าง ๆ เช่น ยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือด (Blood Thinners) ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) หรือน้ำมันปลา เป็นต้น รอยช้ำยังอาจปรากฏขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด อาทิ ร่างกายอาจกระแทกกับสิ่งของต่าง ๆ โดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นขอบประตู ขอบเตียง หรือเก้าอี้ และยังพบได้ในผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติโดยเฉพาะผู้ที่มีรอยช้ำร่วมกับการมีเลือดออกตามไรฟันหรือเลือดกำเดาไหลได้ด้วยเช่นกัน เมื่อเกิดรอยช้ำ ควรทำอย่างไร รอยช้ำมักหายไปเองภายในเวลาไม่นาน แต่รอยช้ำมักมาพร้อมกับอาการเจ็บและบวม โดยผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บมากที่สุดในช่วง 1–2 วันแรกหลังได้รับบาดเจ็บ และสีของอาการช้ำที่ปรากฏจะเปลี่ยนไปตามเวลา ซึ่งวิธีการปฐมพยาบาลที่จะช่วยลดรอยช้ำและบรรเทาอาการเจ็บที่อาจเกิดขึ้นนั้นสามารถทำได้ด้วยวิธีต่าง ๆ […]