รอยช้ำ อาการช้ำ และวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ช้ำหรือรอยช้ำเป็นอาการบาดเจ็บที่ปรากฏบนผิวหนังและเป็นอาการที่สามารถพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งเกิดจากเลือดออกภายในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในชั้นผิวหนังหรืออยู่ลึกลงไปใต้เนื้อเยื่อผิวชั้นบน ในช่วงแรก อาการช้ำจะมีลักษณะเป็นสีม่วงคล้ำ ก่อนที่สีจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ในระหว่างการรักษา และผิวจะกลับไปเป็นปกติเมื่อร่างกายดูดซึมเลือดในชั้นผิวหนังกลับเข้าไปตามเดิม ทั้งนี้การเกิดรอยช้ำอาจแตกต่างกันไปตามอายุ อย่างการที่เด็กเกิดรอยช้ำได้ยากกว่าผู้สูงอายุเพราะเมื่ออายุมากขึ้นหลอดเลือดก็จะมีความบอบบางมากขึ้นตามไปด้วย หรืออาจมีสาเหตุมาจากการใช้ยาบางชนิดที่ขัดขวางการแข็งตัวของเลือดจนทำให้เลือดออกในผิวหนังหรือเนื้อเยื่อมากขึ้นได้ ดังนั้น การรู้ถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุ การปฐมพยาบาลและการรักษาเมื่อเกิดรอยช้ำจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม สาเหตุต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดรอยช้ำ อาการช้ำ โดยทั่วไป อาการช้ำมักเกิดจากการได้รับการกระทบกระเทือนในบริเวณผิวหนัง มักพบได้มากในผู้ที่ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเป็นประจำ อย่างนักกีฬา หรือเกิดขึ้นจากการฉีกขาดขนาดเล็กของหลอดเลือดใต้ผิวหนัง อีกทั้งรอยช้ำยังอาจเกิดจากการได้รับอุบัติเหตุ ข้อเท้าแพลง มีภาวะกล้ามเนื้อฉีก และการใช้ยาหรืออาหารเสริมชนิดต่าง ๆ เช่น ยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือด (Blood Thinners) ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) หรือน้ำมันปลา เป็นต้น รอยช้ำยังอาจปรากฏขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด อาทิ ร่างกายอาจกระแทกกับสิ่งของต่าง ๆ โดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นขอบประตู ขอบเตียง หรือเก้าอี้ และยังพบได้ในผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติโดยเฉพาะผู้ที่มีรอยช้ำร่วมกับการมีเลือดออกตามไรฟันหรือเลือดกำเดาไหลได้ด้วยเช่นกัน เมื่อเกิดรอยช้ำ ควรทำอย่างไร รอยช้ำมักหายไปเองภายในเวลาไม่นาน แต่รอยช้ำมักมาพร้อมกับอาการเจ็บและบวม โดยผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บมากที่สุดในช่วง 1–2 วันแรกหลังได้รับบาดเจ็บ และสีของอาการช้ำที่ปรากฏจะเปลี่ยนไปตามเวลา ซึ่งวิธีการปฐมพยาบาลที่จะช่วยลดรอยช้ำและบรรเทาอาการเจ็บที่อาจเกิดขึ้นนั้นสามารถทำได้ด้วยวิธีต่าง ๆ […]
วิตามินบำรุงสายตา แหล่งโภชนาการเสริมสุขภาพดวงตา

ดวงตา เป็นอวัยวะสำคัญที่ใช้ในการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ การดูแลรักษาดวงตาให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะนอกจากดวงตาและประสิทธิภาพในการมองเห็นของคนเราจะเสื่อมถอยไปตามกาลเวลาดังเช่นอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายแล้ว ปัจจัยแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกอาจส่งผลต่อการเกิดปัญหาหรือการเจ็บป่วยของดวงตาได้ ซึ่งจะกระทบต่อทัศนวิสัยในการมองเห็นได้ก่อนเวลาอันควร ในทางโภชนาการ การบริโภควิตามินบางชนิดก็อาจมีประโยชน์ต่อการบำรุงและถนอมสายตาได้เช่นกัน หลายคนอาจเคยทราบมาว่า วิตามินเอ อาจช่วยบำรุงสายตา ช่วยในการมองเห็นให้ทัศนวิสัยชัดเจนขึ้น แต่ในทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ อาจยังมีข้อสงสัยว่า ข้อมูลเกี่ยวกับวิตามินเอเหล่านั้นเป็นความจริงหรือไม่ และนอกเหนือจากวิตามินเอแล้ว วิตามินอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย จะเป็นประโยชน์ต่อสายตาและการมองเห็นด้วยหรือไม่ วิตามินชนิดใดบ้าง ที่อาจช่วยบำรุงสายตาได้ ? วิตามินเอ (Vitamin A) วิตามินเอ เป็นวิตามินบำรุงสายตาและการมองเห็น กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ และการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย วิตามินเอ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ เรตินอยด์ (Retinoids) เป็นวิตามินเอชนิดที่มักได้รับจากการบริโภคอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เบต้า แคโรทีน (Beta-carotene) เป็นวิตามินเอชนิดที่มักได้รับจากการบริโภคอาหารประเภทพืช ผัก ผลไม้ โดยแหล่งอาหารที่สำคัญของ วิตามินเอ ได้แก่ เนื้อสัตว์ ตับ เครื่องในสัตว์ เนื้อปลา โดยเฉพาะปลาแซมอน […]
พัฒนาการเด็กทารก 8 เดือน เลี้ยงดูทารกวัยนี้

พัฒนาการเด็กทารก 8 เดือน การกินช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ลูกวัยนี้สามารถคลานตามใจตัวเองได้ไกล ดังนั้นควรเก็บของใช้ให้เรียบร้อย ระวังพวกตู้เสื้อผ้าที่เปิดง่าย ของในตู้ก็ต้องระวังด้วย เช่น ลูกเหม็น ลิ้นชักที่ลูกเอื้อมถึง ต้องเก็บของให้เรียบร้อย ของที่อันตราย และของมีคมต้องเอาไปซ่อนไว้ที่อื่น ถ้าอยู่บ้านสองชั้น บ้านใต้ถุนสูง ต้องระวังลูกตกระเบียง ตรงบันไดควรทำที่กั้นเอาไว้ พัฒนาการเด็กทารก 8 เดือน ด้านร่างกาย คลานได้คล่องขึ้น และสามารถลุกนั่งได้เอง ใช้มือในการหยิบ จับ สัมผัสสิ่งของต่าง ๆ และใช้นิ้วในการหยิบจับสิ่งของชิ้นเล็ก ๆ ได้ ชอบปาของเล่นให้มีเสียงดัง แล้วให้คุณแม่หยิบมาคืนให้ ถือของมือเดียวได้ และสามารถเปลี่ยนมือถือของได้ พัฒนาการเด็กทารก 8 เดือน ด้านสังคม ตะโกนเรียกร้องความสนใจ ตอบสนองต่อการเรียกชื่อ ติดแม่ กลัวการแยกจาก ขี้อาย กลัวคนแปลกหน้า พยายามเลียนเสียงพยัญชนะ แต่ยังไม่มีความหมาย ส่งเสียงดังเพื่อเรียกร้องความสนใจ การกระตุ้นพัฒนาการผ่านการเล่น จัดสถานที่ภายในบ้านให้กว้างขวางเพื่อสะดวกในการหัดคลาน พูดคำสั้น ๆ ให้ลูกหัดพูดตาม หากล่องหรือตะกร้ามาให้ลูกโยนของเล่นลงไป เพื่อฝึกให้ลูกโยนของอย่างมีจุดมุ่งหมาย […]
พัฒนาการเด็กทารก 7 เดือน เลี้ยงดูทารกวัยนี้

พัฒนาการเด็กทารก 7 เดือน เด็กวัยนี้มักนอนยาวรวดเดียวจนถึง 6 โมงเช้า หรือ 8 โมงเช้า เวลาปัสสาวะกลางคืนบางคนก็ไม่ตื่น บ้างก็ตื่น อาจร้องไห้เล็กน้อยแล้วหลับต่อ บางคนต้องให้ดูดนมอีกครั้งจึงยอมนอนต่อ การขับถ่ายวัยนี้เริ่มคงที่ อาจถ่ายอุจจาระวันละ 1-2 ครัง บางคน 2-3 ครั้ง บางคน 2 วันถ่ายครั้ง บางคน 3 วันครั้ง วัยนี้ไม่นอนมากหรือบ่อยเหมือนเคย มีเวลาตื่นนานขึ้น เริ่มมีความสุขที่ได้เคลื่อนไหว ได้เล่นกับพ่อแม่ ได้ไปเที่ยวนอกบ้าน ส่วนระยะที่ฟันขึ้นจะต่างกัน แต่ส่วนใหญ่ เมื่ออายุเกิน 6 เดือน มักเริ่มมีฟันล่างด้านหน้างอกขึ้นมา 2 ซี่แล้ว พัฒนาการเด็กทารก 7 เดือน ด้านร่างกาย ยันตัวขึ้นให้อยู่ในท่านั่งและท่าคลานได้ บางคนอาจคลานได้แล้ว ถ้าช่วยดึงจะลุกขึ้นยืนได้ ใช้นิ้วหยิบของได้คล่องขึ้น อยากหยิบช้อนแล้วใส่เข้าปากเอง แต่อาจไม่ตรงปากมากนัก พัฒนาการด้านสังคม ส่งเสียงที่มีทั้งสระ และพยัญชนะ ออกเสียงที่มีความหมายเฉพาะตัวได้ดีขึ้น จำเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นได้ เริ่มเปรียบเทียบการกระทำของตนเองกับคนอื่น มีอารมณ์ขัน […]
พัฒนาการเด็กทารก 5 เดือน เลี้ยงดูทารกวัยนี้

พัฒนาการเด็กทารก 5 เดือน พัฒนาการของลูกน้อย ลูกของคุณเริ่มโตขึ้นและดูไม่เหมือนทารกแรกเกิดแล้ว พัฒนาการเด็กช่วงวัยนี้ ลูกจะสามารถยกศีรษะขึ้นจากเบาะได้ช่วงสั้นๆ เวลานอนคว่ำ มือยังคงกำแน่นและจะกำอัตโนมัติเมื่อคุณสอดอะไรเข้าในมือซึ่งเป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับโดยธรรมชาติที่ทารกทุกคนมีมาแต่เกิด การให้นมทารก ทารกส่วนใหญ่จะเข้าสู่ช่วงโตเร็วเมื่ออายุได้ราว 6 สัปดาห์ นั่นคือ ลูกจะหิวบ่อยขึ้นกว่าเดิม และจะเป็นสัก 2-3 วัน คุณแม่ควรเพิ่มความถี่ในการให้นมลูกเท่านั้นพอ หลังจากนั้นเพียงไม่กี่วัน คุณแม่ก็จะสามารถกลับมาให้นมตามตารางเวลาเดิมได้อีกครั้ง วิธีสื่อสารของลูก การร้องไห้ยังคงเป็นวิธีที่ลูกใช้สื่อกับคุณ แม้ว่าลูกจะสามารถเล่นเสียงต่างๆ ได้บ้างแล้ว เช่น ทำเสียงในลำคอ คำราม และส่งเสียงฮัมเบาๆ เมื่อรู้สึกสบายและพึงพอใจ พัฒนาการเด็กทารก 5 เดือน ด้านการมองเห็น พัฒนาการเด็กทารก 5 เดือน วัยนี้สามารถมองเห็นได้ดีขึ้นและไกลขึ้น แม้ว่าจะยังมีขอบเขตจำกัดก็ตาม ลูกจะสนใจมองของ 2 อย่างเป็นพิเศษคือ ใบหน้าคน โดยเฉพาะหน้าแม่ และสิ่งที่เคลื่อนไหวได้ วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารก 5 เดือน คุณแม่สามารถกระตุ้นให้ลูกยิ้มได้ด้วยการกอด จั๊กจี้ หรือเล่นกับเขาลูกจะชอบอยู่ใกล้ชิดกับคุณ ดังนั้น คุณแม่อาจเล่นกับลูกด้วยการขยับแขนขาของลูกเบาๆ และนวดสัมผัส โอบกอดลูกในระหว่างให้นมหรืออุ้มกล่อมลูก […]
พัฒนาการเด็กทารก 4 เดือน เลี้ยงดูทารกวัยนี้

พัฒนาการเด็กทารก 4 เดือน การมองเห็นของลูก การมองเห็นของเด็กในวัยนี้เทียบเท่ากับของผู้ใหญ่ นั่นหมายถึง ความสามารถของตาในการเห็นสี การปรับระยะความชัดใกล้ไกลต่างๆ การมองเห็นภาพเดียวไม่ซ้อน การกะระยะตื้นลึก การมองเห็นเหล่านี้จะพัฒนาจนสมบูรณ์ในเดือนที่ 4 นอกจากสมองและตาจะทำงานสัมพันธ์กันแล้ว กล้ามเนื้อคอก็เข้ามามีส่วนร่วม เพราะเด็กจะหันซ้าย หันขวา มองตามบน และล่าง ตามวัตถุที่เคลื่อนไหว วิธีการสื่อสารของลูก พัฒนาการเด็กทารก 4 เดือนลูกของคุณจะหันหาเสียงเรียกชื่อ ส่งเสียงอ้อแอ้ อืออา โต้ตอบ พร้อมกับรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ แล้วยังชอบมองปากและสีหน้าของคุณเวลาพูดเช่นกันค่ะ วิธีส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารก 4 เดือน การเรียกชื่อลูกในทิศทางต่างๆ เป็นการฝึกให้ลูกหันหาตามเสียง ช่วยส่งเสริมความทำงานของสมอง การกล้ามเนื้อคอและพัฒนาการเด็กด้านการสื่อสารให้ทำงานสัมพันธ์กัน
พัฒนาการเด็กทารก 2 เดือน เลี้ยงดูทารกวัยนี้

พัฒนาการเด็กทารก 2 เดือน ลูกน้อยเริ่มรู้จักคุณแม่แล้ว ลูกจะเริ่มคุ้นเคยกับอ้อมกอดของแม่แล้ว และอาจส่งเสียงร้องถ้าคนที่อุ้มไม่ใช่แม่ ลูกจะแกว่งแขนถีบขาเมื่อถูกกระตุ้นหรือรู้สึกตื่นเต้น และมีความสุขกับการดูดนิ้วหรือนิ้วหัวแม่มือด้วย การให้นมทารก ปัญหาในการให้นมยังอาจพบได้ทั่วไปในวัยนี้ บางคนอาจร้องโคลิก คือร้องติดต่อกันนานในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งมักเกิดขึ้นกับทารกวัย 1-3 เดือน แต่เด็กที่ร้องโคลิกจะไม่มีอาการเจ็บป่วยตามมา เขาจะสบายเป็นปกติหลังจากหยุดร้องไห้แล้ว พัฒนาการเด็กทารก 2 เดือน ลูกน้อยเริ่มยกศีรษะขึ้นได้แล้ว พัฒนาการเด็กทารก 2 เดือน ร่างกายของลูกเริ่มยืดตรง หากคุณจับลูกนอนคว่ำ ในไม่ช้าลูกจะสามารถยกศีรษะขึ้นจากเบาะและยกค้างไว้อย่างนั้นสักครู่หนึ่ง วิธีสื่อสารของลูก ถึงแม้ว่าลูกจะยังพูดเป็นคำๆ ไม่ได้ แต่ลูกก็เริ่มเรียนรู้วิธีที่จะสื่อสารแล้ว ลูกจะชอบฟังเสียงของแม่มากที่สุด และเมื่อลูกน้อยได้ยินเสียงคุณ เขาก็มักจะหันหาและส่งเสียงตอบทันที ลูกน้อยวัย 2 เดือน จะมองเห็นได้ชัดในระยะ 8-9 นิ้ว ค้นพบมือของตัวเอง ปฏิกิริยาสะท้อนกลับในการกำวัตถุที่อยู่ในมือโดยอัตโนมัติเริ่มลดลง ลูกจะเริ่มสนใจกับมือ 2 ข้างที่ตัวเองเพิ่งค้นพบ และจะใช้มือทั้งสอง(รวมทั้งปาก)ในการสำรวจสิ่งของแปลกใหม่รอบๆ ตัว วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารก 2 เดือน คุณแม่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยได้โดยแขวนของเล่นโมบายที่มีสีสันสดใส และเคลื่อนไหวได้ ห่างจากหน้าลูกประมาณ 8-9 นิ้ว […]
พัฒนาการเด็กทารก 11 เดือน เลี้ยงดูทารกวัยนี้

พัฒนาการเด็กทารก 11 เดือน การให้นมลูกน้อย มีเด็กจำนวนมากที่เคยนอนกลางวัน 2 ครั้งแล้วค่อยๆ ลดลงเหลือเพียง 1 ครั้ง เด็กบางคนนอนครั้งละครึ่งชั่วโมง แต่นอนบ่อย ๆ วันละ 3-4 ครั้งก็มี เวลาตื่นตอนเช้าก็ต่างกัน บางคนลืมตาตื่นนอน 6 โมงเช้า พอได้ดูดนมก็นอนต่อถึง 8 โมง 9 โมง เด็กบางคนอาจตื่นมาปัสสาวะแล้วหลับต่อเมื่อได้ดูดนม บางคนหลีบสนิทดี ถึงผ้าอ้อมเปียก จนเปลี่ยนให้ก็ไม่ตื่น พัฒนาการเด็กทารก 11 เดือน ด้านร่างกาย ใช้มือยันตัวขึ้นยืนได้เอง ก้มตัวจากท่ายืนได้ นั่งยองได้ถนัดขึ้น จับดินสอขีด ๆ ไปมาได้ บางคนอาจดึงถุงเท้าออกเองได้ ใช้มือสองข้างทำอะไรไม่เหมือนกัน เช่น มือข้างหนึ่งถือของเล่นอย่างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งเล่นของเล่นหรือปาของได้ จับถ้วยคว่ำเทน้ำทิ้ง พัฒนาการเด็กทารก 11 เดือน สังคม รู้จักความหมายของคำว่า “ไม่” ปฏิเสธสิ่งที่ตัวเองไม่ต้องการเก่งขึ้น รู้จักฟังคำสั่งมากขึ้น หยุดพฤติกรรมของตัวเองได้ รู้จักฟังคำสั่งมากขึ้น […]
พัฒนาการเด็กทารก 10 เดือน เลี้ยงดูทารกวัยนี้

พัฒนาการเด็กทารก 10 เดือน การทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อและการรับรู้ ระยะนี้มักมีฟันหน้าขึ้นครบ 4 ซี่ อัตราเพิ่มของน้ำหนักจะลดลงอยู่ระหว่างประมาณ 5-10 กรัมต่อวันโดยเฉลี่ย พัฒนาการเด็กทารก 10 เดือนวัยนี้เริ่มเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เช่น ไม่ชอบให้จับนั่งกระโถน ช่วงนี้คุณแม่อาจจะปล่อยให้ลูกน้อยได้เล่นคนเดียวบ้าง และการเล่นของลูกจะแฝงไว้ด้วยความอยากรู้อยากเห็น และค่อย ๆ จดจำ พัฒนาการเด็กทารก 10 เดือน ด้านร่างกาย เกาะโต๊ะ หรือจูงมือ แล้วเดินไปรอบ ๆ ได้ เริ่มหัดยืนโดยไม่เกาะอะไร ยืนได้เองชั่วครู่ สำหรับเด็กที่เดินเร็ว อาจเดินได้ในช่วงนี้ ชี้บอกอวัยวะได้ เริ่มชอบใช้มือข้างใดข้างหนึ่ง มากกว่าอีกข้าง แต่ยังไม่สามารถบอกได้ว่าลูกถนัดด้านใด ดึงหมวกออกเอง พัฒนาการเด็กทารก 10 เดือน ด้านสังคม รู้จักเชื่อมโยงคำพูดกับท่าทาง เช่น ส่งจุ๊บ ยิ้มหวาน กินเองได้คล่องขึ้น ยกแก้วน้ำดื่มเองได้ เลียนแบบท่าทาง สีหน้าของผู้ที่อยู่ใกล้ชิดได้ ชอบฟังเพลง โยกตัวเมื่อได้ยินเสียงเพลง การกระตุ้นพัฒนาการผ่านการเล่น วางของไว้บนเก้าอี้หรือโต๊ะเตี้ย ๆ ที่แข็งแรงและมั่นคง […]
พัฒนาการเด็กในครรภ์ การดูแลสัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์

พัฒนาการเด็กในครรภ์ การดูแลตัวเองและทารกในครรภ์อย่างถูกวิธี แม้ในช่วงตั้งครรภ์สัปดาห์แรกนี้ แม่ส่วนใหญ่จะแทบไม่รู้ตัวเลยว่าตั้งครรภ์จะยังไม่สังเกตุเห็นความเปลี่ยนแปลงภายนอกแต่อย่างใด แต่แม่มือใหม่ก็จำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กในครรภ์ เพื่อการการเตรียมตัวดูแลตัวเองให้ทารกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรงอย่างถูกวิธี ซึ่งเป็นเป็นสิ่งสำคัญมาก ซึ่งกำลังเตรียมตัวเคลื่อนไปฝังตัวที่ผนังมดลูก ระยะนี้จะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเพราะเซลล์หลังการปฏิสนธินั้นจะมีการแบ่งตัวเกิดขึ้นในทันที เชลล์เริ่งแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และเคลื่อนตัวผ่านท่อนำไข่มาสู่โพรงมดลูก ในระยะเวลาประมาณ 4 วัน หลังจากเกิดการปฏิสนธิ ไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว (Fertilized ovum) ในช่วงนี้ จะมีลักษณะเป็นลูกกลม ประกอบด้วยเซลล์ประมาณ 100 เซลล์ ภายในลูกกลมนี้จะเป็นโพรงที่บรรจุของเหลว ซึ่งขนาดของไข่นี้จะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ไข่จะใช้เวลาอีกประมาณ 2 – 3 วัน ลอยอยู่ในโพรงมดลูก เรียกว่า เอ็มบริโอ Embryo ซึ่งจะมีการสร้าง รก( placenta) และสายสะดือ (umbilical cord ) เพื่อเป็นทางนำอาหารจากแม่สู่ลูกและขับของเสียจากลูกสู่แม่ เด็กจะอยู่ในถุงน้ำเรียก amniotic sac ซึ่งป้องกันอันตรายให้กับทารกจากการกระแทก