พัฒนาการเด็ก

พัฒนาการเด็ก
ของใช้ทารกแรกเกิด
เตรียมตัวตั้งครรภ์
การดูแลผู้สูงอายุ

พัฒนาการวัยเด็ก และ ของเล่นเสริมทักษะ

เทคนิควิธีเลือกของเล่นเสริมทักษะให้สอดคล้องกับพัฒนาการเด็กวัยขวบปีแรก คุ้มค่าและช่วยฝึกพัฒนาการลูกได้อย่างเหมาะสม

  • เด็กแรกเกิด – 3 เดือน
    ของเล่นที่สามารถติดบริเวณเตียงหรือเปลได้ เช่น โมบายล์ ตุ๊กตาของเล่นแขวนที่ขอบเปลนิ่ม ๆ เป็นต้น
  • วัย 4 เดือน – 6 เดือน
    วัยนี้สามารถเคลื่อนไหวตัวได้มากขึ้น และมีพัฒนาการหลายอย่างมากขึ้นด้วย เช่น การคว้าจับถนัดขึ้น ฟันเริ่มขึ้น มองเห็นชัดขึ้น ฉะนั้นของเล่นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเข้ากับพัฒนาการลูกได้ด้วย เช่น ยางกัดนิ่ม ๆ ควรเลือกที่ได้คุณภาพเป็นพลาสติกหรือยางที่มีความคงทนแข็งแรง เมื่อบีบดูแล้วไม่มีของเหลวข้างในไหลออกมา เลือกสีสันให้สดใสหรือมีลูกเล่นข้างในยางกัดด้วยก็ได้
  • วัย 7 เดือน – 9 เดือน
    บางคนก็เริ่มคลานคล่องแล้ว ของเล่นก็ต้องเพิ่มลูกเล่นไปตามศักยภาพของลูก ให้สมกับวัยนักสำรวจตัวน้อย ควรเลือกเครื่องเล่นที่ต้องใช้ทักษะหลาย ๆ ด้าน เช่น กดแล้วมีเสียงต่าง ๆ ต้องใช้การหมุน บิด ตี ดึง เป็นต้น
  • วัย 10 เดือน – 1 ขวบ
    เริ่มซนจนจับไม่อยู่แล้ว แต่ในขณะเดียวกันของเล่นก็ยังมีความจำเป็นต่อการพัฒนาเด็กมากอยู่ดี เพราะระหว่างที่เขาได้เล่นจะเกิดความสุขใจ เกิดประสบการณ์จากการเล่น พัฒนาทั้งสติปัญญาและร่างกายอีกด้วย ควรเลือกของเล่นมีลักษณะต่าง ๆ สี่เหลี่ยม กากบาท รูปดาว เป็นต้น ใส่ช่องตามรูปร่าง หรือหยิบใส่ เทออกจากกล่องบรรจุ

ของใช้ทารกแรกเกิด

การเตรียมตัวตั้งครรภ์

การดูแลผู้สูงอายุ

เทคนิคจัดอาหารที่เหมาะสม สำหรับผู้สูงอายุ

การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการกินอาหารที่เหมาะสมตามวัยและมีความรอบรู้ด้านโภชนาการจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งกรมอนามัยได้จัดทำคำแนะนำ 12 เทคนิคจัดอาหารที่เหมาะสม สำหรับผู้สูงอายุ ดังนี้

  • จัดอาหารให้ครบ 5 กลุ่ม คือ ข้าว-แป้ง ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ นมและผลิตภัณฑ์นม โดยจัดให้หลากหลายในปริมาณที่เหมาะสม
  • เลือกข้าวไม่ขัดสีเป็นหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ เช่น ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน วุ้นเส้น เป็นต้น
  • เลือกปลา ไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ถั่วเมล็ดแห้ง มาปรุงประกอบอาหารเป็นประจำ
  • จัดเมนูผักให้มีความหลากหลายสี และสลับชนิดกันไป
  • จัดผลไม้รสไม่หวานจัด วันละ 1-3 ส่วน (ผลไม้ 1 ส่วน ประมาณ 6-8 ชิ้นพอดีคำ)
  • จัดนมรสจืด วันละ 1-2 แก้ว และจัดอาหารแหล่งแคลเซียม เช่น ปลาเล็กปลาน้อย เต้าหู้แข็ง
  • หั่นอาหารเป็นชิ้นขนาดเล็ก ทำให้อ่อนนุ่มด้วยการต้ม นึ่ง ลวก เพื่อง่ายต่อการเคี้ยวและย่อย
  • กรณีที่กินมื้อหลักได้ไม่เพียงพอ อาจจัดให้กินครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง แบ่งเป็นมื้อย่อย ๆ วันละ 5-6 มื้อ
  • ลดการปรุงอาหารรสจัด หวาน มัน เค็ม ใช้สมุนไพรในการเพิ่มรสชาติ ลดหรือเลี่ยงอาหารหมักดอง อาหารแปรรูป
  • ปรุงอาหารสุกใหม่ เน้นลวก ต้ม นึ่ง อบ จัดเมนูผัดและแกงกะทิแต่พอควร เลี่ยงอาหารทอด

บทความพัฒนาการเด็ก

วัคซีน ผู้สูงอายุ - พัฒนาการเด็ก

วัคซีน ผู้สูงอายุ ภูมิต้านทานที่ร่างกายต้องการ

ถ้าพูดถึงวัคซีน ผู้สูงอายุ หลายคนอาจสงสัยว่าผู้สูงอายุยังจำเป็นต้องฉีดวัคซีนอยู่หรือไม่ แต่ที่จริงแล้ว ผู้สูงอายุเป็นวัยที่ควรได้รับวัคซีนเช่นเดียวกันกับวัยเด็ก

วัดความดันโลหิตอย่างไร ให้แม่นยำ - พัฒนาการเด็ก

วัดความดันโลหิตอย่างไรให้แม่นยำ วิธีวัดความดันโลหิต การอ่านค่าวัดความดันโลหิต

การวัดความดันโลหิตอย่างไร ให้แม่นยำ เป็นการตรวจร่างกายที่สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดเบื้องต้น ซึ่งทำได้ภายในเวลารวดเร็วโดยไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใด ๆ